SMART Goal เป็นเครื่องมือที่ถูกสอนควบคู่กับหลักการบริหารโครงการ (Project Management) เสมอ
เนื่องจากว่าการบริหารโครงการหรือการทำโปรเจคนั้น เป็นงานที่ต้องมีการวางแผนงานและตั้งเป้าหมายงานใหม่เรื่อยๆ ทำให้ผู้บริหารโครงการมีความจำเป็นที่จะ ‘ออกแบบระบบ’ ที่สามารถช่วยในการตั้งเป้าหมายและวางแผนงานใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำซ้ำได้
เราจะเห็นว่าการบริหารโครงการมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและปฏิบัติงานหลายอย่างแล้ว บทความนี้เรามาดูกันว่า ‘วิธีตั้งเป้าหมาย’ การทำงานหรือวิธีตั้งเป้าหมายของโครงการที่ดีผ่านกระบวนการ SMART Goals ต้องทำยังไง
SMART Goals คืออะไร? ทำไมถึงมีความสำคัญสำหรับองค์กร
การตั้งเป้าหมายแบบ SMART (SMART Goals) คือหลักการตั้งเป้าหมายในธุรกิจ เพื่อให้เป้าหมายมีความเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผลได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง และอยู่ในกรอบเวลา หรือ Specific, Measurable, Achievable, Realistic, และ Timely โดย SMART ทำให้การตั้งเป้าหมายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
————————————-
โดยที่คำอธิบายของ SMART Goals ทั้ง 5 หลักการมีดังนี้
Specific เจาะจง – เป้าหมายต้องมีความเจาะจง เรียบง่าย แต่ก็มีค่าที่ให้ทำ
Measurable วัดผลได้ – เป้าหมายต้องสามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ ซึ่งการวัดผลทำให้บอกได้ว่าเป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จหรือเปล่า
Achievable บรรลุผลได้ – เป้าหมายต้องสามารถบรรลุผลได้จริง แต่ก็ต้องมีความท้าทาย
Realistic สอดคล้องกับความเป็นจริง – เป้าหมายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง หมายถึงต้องหมายที่ทำให้เกิดประโยชน์ที่เหมาะสมกับองค์กรในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์นั้นๆ
Timely อยู่ในกรอบเวลา – เป้าหมายต้องมีกำหนดช่วงเวลาการวัดผลที่ชัดเจน
ยกตัวอย่างเป้าหมายของ SMART Goals ได้แก่ ‘การเพิ่มยอดขาย 20% ในระยะเวลาครึ่งปีผ่านการหาลูกค้าใหม่’
โดยพื้นฐานแล้วการตั้งเป้าหมาย SMART นั้นเป็นกระบวนการที่เรียบง่ายๆ อย่างไรก็ตาม นักบริหารโครงการสมัยใหม่ก็มีการนิยามอีก ‘2 หลักการ’ ที่มีความจำเป็นต่อการตั้งเป้าหมายเช่นกัน ก็คือ
ซึ่งพอเรารวม 2 อย่างนี้เข้าไป SMART Goals ก็จะกลายเป็น SMARTER แทน
หลักการของ SMART Goal นั้นมีความคล้ายคลึงกับหลักการ ‘การวัดผลการทำงาน’ ในองค์กรเช่นการตั้ง KPI การตั้ง OKR หากใครสนใจศึกษาส่วนไหนเป็นพิเศษผมแนะนำให้อ่านบทความ 2 บทความนี้ของผมเพิ่มเติม Key Performance Indicators คืออะไร? ใช้ยังไงไม่ให้คนเบื่อ และ OKR คืออะไร? และทำไมบริษัทระดับโลกถึงต้องสนใจ OKR
————————————-
คำนิยาม SMART – วิธีการใช้ SMART Goals ที่ถูกต้อง
#1 Specific เจาะจง
เป้าหมายที่ตั้งต้องมีความชัดเจนและเจาะจง ทำให้พนักงานและผู้บริหารโครงการสามารถดูได้ว่าส่วนไหนของงานที่ควรให้ความสำคัญที่สุด ก่อนที่จะสร้างเป้าหมาย เราควรที่จะพิจารณาดังนี้
อะไรเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ? ทำไมเป้าหมายที่สำคัญ? ใครบ้างที่เกี่ยวข้อง? ทำที่ไหน? เรามีทรัพยากรและข้อจำกัดอะไรบ้าง?
ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะบอกว่าเป้าหมายคือการ ‘เพิ่มทักษะการตลาด’ เราก็อาจจะลงรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น การเพิ่มทักษะการตลาดผ่านการเรียนรู้การทำโฆษณาออนไลน์ด้วย Facebook โดยการไปเรียนคอร์สการตลาดออนไลน์อันนี้
#2 Measurable วัดผลได้
หลักการทำธุรกิจที่ดีก็คือทุกอย่างต้องสามารถวัดผลได้ เพื่อที่ผู้บริหารโครงการจะได้สามารถติดตามความคืบหน้า แล้วเข้ามาแก้ไขได้ทันเวลา การวัดผลเป้าหมายจะสามารถทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุผลได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นวิธีกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้พนักงานอย่างดีด้วย คำถามที่ควรถามเกี่ยวกับการวัดผลได้แก่
เท่าไหร่? เราจะรู้ได้ยังไงว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ?
ตัวอย่างการวัดผลที่สามารถทำได้ชัดเจนก็คือการวัดผลยอดขายและผลกำไร แต่สำหรับเป้าหมายโครงการเช่นการพัฒนาทักษะ เราก็อาจจะวัดผลในการทำแบบทดสอบ หรือการทำรายการตรวจสอบว่าเราได้เรียนรู้เรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับหัวข้อนั้นจริงหรือเปล่า
#3 Achievable บรรลุผลได้
เป้าหมายที่ดีต้องสามารถได้จริง แต่ก็ต้องมีความท้าทายไม่ง่ายเกินไป การที่เราตั้งเป้าหมายให้ท้าทายแต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตของความเป็นจริงนั้นจะทำให้องค์กรสามารถพัฒนา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้ บางครั้งอาจจะเจอทรัพยากรหรือโอกาสที่องค์กรไม่เคยคิดมาก่อนก็ได้ โดยที่องค์กรควรจะถามตัวเองว่า
เราควรจะทำอะไรบ้างถึงจะทำให้เป้าหมายบรรลุผลได้? เป้าหมายนี้มีความเป็นไปได้มากแค่ไหน พิจารณาข้อจำกัดทางการเงินและทางทรัพยากรต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่นหากคุณอยากที่จะเรียนการตลาดเพิ่ม คุณก็ต้องพิจารณาว่าสถานที่เรียนมีประสิทธิภาพพอหรือเปล่า หรือเวลาที่คุณใช้ในการเรียนนั้นเพียงพอสำหรับการกระทำสิ่งที่คุณต้องการทำหรือเปล่า หรือในบางกรณีคุณก็ต้องคิดดูด้วยว่าคุณมีเงินพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนหรือเปล่า
#4 Realistic สอดคล้องกับความเป็นจริง
ในส่วนนี้คือการดูว่าเป้าหมายที่เราตั้งอยู่นั้นสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือเปล่า หมายความว่าในสถานการณ์ตอนนี้ และด้วยข้อจำกัดที่เรามี เป้าหมายนี้ควรจะเป็นเป้าหมายหลักของเราหรือเปล่า หากเรามองว่าในองค์กรทรัพยากรและเวลาเป็นเรื่องที่มีจำกัดก็ต้องถามตัวเองว่าเราพร้อมที่จะนำทรัพยากรไปลงกับการทำเป้าหมายนี้มากแค่ไหน
เป้าหมายนี้คุ้มค่ากับการทำมากแค่ไหน? ตอนนี้เป็นเวลาที่เราควรทำเรื่องนี้หรือเปล่า? เป้าหมายนี้เหมาะกับสถานการณ์ตอนนี้หรือเปล่า? ทรัพยากรที่เรามีเหมาะสมกับการทำเป้าหมายนี้หรือเปล่า?
กลับมาดูในกรณีของการเรียนการตลาดใหม่อีกรอบ เราก็ต้องมาพิจารณาว่าตอนนี้เรามีเวลาหรือมีพื้นที่ในชีวิตมากพอที่จะมาเรียนการตลาดมากแค่ไหน และการเรียนการตลาดครั้งนี้จะพัฒนาทักษะที่ช่วยเราในอนาคตได้หรือเปล่า
เช่นหากคุณเป็นนักบัญชีมีเวลาว่างอาทิตย์ละไม่กี่ชั่วโมง เป้าหมายของคุณควรที่จะอยากเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดหรือเปล่า (เรามีเวลามากพอและให้ความสำคัญกับเป้าหมายมากแค่ไหน)
ผมไม่ได้บอกว่าทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกอย่างต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง
#5 Timely อยู่ในกรอบเวลา
เวลาก็เป็นอีกหนึ่งหลักการที่เราควรที่จะพิจารณาก่อนตั้งเป้าหมาย เพราะทุกเป้าหมายควรที่จะมีระยะเวลากำหนดไว้เสมอ เพื่อที่ผู้บริหารโครงการจะได้สามารถบริหารทรัพยากรอื่นๆได้ในเวลาที่ต้องการด้วย ให้ถามตัวเองว่า
เมื่อไหร่? เราสามารถทำอะไรได้บ้างในอีก 3 เดือน? 6 เดือน? เราสามารถทำอะไรได้บ้างตอนนี้?
ตัวอย่างของเวลามักจะมาพร้อมกับเป้าหมายอื่นๆเสมอ เช่นหากเราอยากจะพัฒนาทักษะการตลาด เราก็ต้องตั้งเป้าหมายให้อยู่ในกรอบเวลาที่เป็นไปได้สำหรับเรา ถ้าเรามีเวลาน้อย กรอบเวลาที่จะทำเป้าหมายนี้ให้เป็นจริงก็ควรจะถูกยืดให้ยาวกว่าปกติ แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีทักษะพื้นฐานอยู่แล้ว เวลาในส่วนนี้ก็อาจจะสั้นลงตามความเป็นจริง
หากเราเข้าใจหลักการตั้งเป้าหมายตามหลัก SMART แล้วเรามาลองดูข้อดีข้อเสียของการใช้ SMART Goals กันบ้าง
————————————-
ข้อแนะนำในการใช้ SMART Goals
ส่วนมากแล้ว Smart Goal เป็นหลักการที่ใช้กันในการบริหารโครงการและการบริหารการปฏิบัติการ (Project Management & Operations Management) เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้จะมีจุดหมายร่วมกันคือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และ การบริหารบุคลากรในจำนวนมาก
สำหรับการทำงานกับคนส่วนมากและการทำงานเป็นองค์กรนั้น หนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการตั้งกระบวนการประเมินผลและปรับปรุง เพื่อที่ผู้บริหารโครงการจะได้มั่นใจว่าเป้าหมายที่ตั้งและการปฏิบัติการของจริงนั้นมีความสอดคล้องกัน
ในกรณีที่เป้าหมายมีกรอบเวลาที่นาน เราอาจจะเห็นได้ว่าด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือด้วยปัจจัยภายนอกต่างๆ บางครั้งเป้าหมายที่เราตั้งไว้ตอนแรกอาจจะต้องมีการกลับมาแก้ไขภายหลัง ยกตัวอย่างเช่นพนักงานขายอาจจะทำยอดขายได้เกินกว่าเป้าหมายที่ทำไปแล้ว จึงมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายใหม่เพื่อหาแรงกระตุ้นใหม่ๆให้กับพนักงาน
หรืออาจจะมีกรณีที่เศรษฐกิจทรุดตัว ทำให้พนักงานขายไม่สามารถปิดการขายได้ตามที่คิดไว้ จึงต้องมีการเปลี่ยนเป้าหมายให้สะท้อนสภาพความเป็นจริงตามสถานการณ์ภายนอก
เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนเป้าหมายใหม่บ่อยเกินไป จนทำให้พนักงานหรือผู้ดำเนินงานสับสน ผู้ตั้งเป้าหมายอาจจะเลือกที่จะ แบ่งเป้าหมายใหญ่ให้กลายเป็นเป้าหมายย่อยๆหลายขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม การวัดผล และการกระจายทรัพยากร
นส่วนนี้ผมแนะนำให้ทุกคนลองศึกษาเกี่ยวกับการบริหารโครงการดู เพราะหลักการในการแบ่งงานนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ลองอ่านได้ตามบทความนี้ของผมนะครับ การบริหารโครงการ คืออะไร? ขั้นตอนของ Project Management
นอกจากนั้นแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงปัจจัยมนุษย์ในการตั้งเป้าหมายด้วย การตั้งเป้าหมายเดิมซ้ำๆแต่ยิ่งใหญ่ขึ้น เช่นการเพิ่มยอดขายพนักงานขายทุกๆปี อาจจะมีความสำเร็จสมผลในเชิงงบกําไรขาดทุนของบริษัท แต่การให้พนักงานคนเดิมทำงานเป้าหมายเหมือนเดิมซ้ำๆ ก็อาจจะทำให้พนักงานเกิดการหมดไฟหรือลาออกได้ ในกรณีนี้ผู้ตั้งเป้าหมายอาจจะต้องหาวิธีสร้างสรรค์เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ๆให้กับผู้ดำเนินการด้วย
————————————-
Credit Source: https://thaiwinner.com/smart-goals/
ติดต่อเราได้ที่
Website: http://surveymarketthailand.co.th/serviceth/
LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I
Facebook: https://www.facebook.com/Surveymarketth
———————————-
#SurveyMarketThailand #MarketingPlan #รับทำแผนการตลาด #จัดทำแผนการตลาด #รับเขียนแผนการตลาด #WritingMarketingPlan #MarketingPlanService #DesignMarketingPlan #รับทำแผนธุรกิจ #เซอร์เวย์มาร์เก็ตประเทศไทย #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #SurveyMarketThailand #MarketingPlan #BusinessPlan #แผนธุรกิจ #แผนการตลาด #รับเขียนแผนธุรกิจ #รับวางแผนการตลาด #รับเขียนแผนการตลาด