How to เก็บข้อมูลแบบ Social Distancing
by TSIS Team
สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ในเชิงธุรกิจต่อกลุ่มคนทำงาน ภาครัฐ หรือการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ชาววิจัยอย่างเราก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ไปไม่มากก็น้อย
สิ่งสำคัญในการทำวิจัยคือ “การเก็บข้อมูล” ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะต้องลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล แต่ตอนนี้ลงไม่ได้ แล้วจะทำยังไงดีละ ? กำหนดส่งเล่มใกล้เข้ามาทุกที!!
หลายโครงการของ The TSIS เองที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยเฉพาะการเก็บข้อมูล ในวันนี้เราเลยจะมาแบ่งปันวิธีการเก็บข้อมูลแบบ “Social Distancing”
1) แบบสอบถามออนไลน์
“แบบสอบถาม” คือ เครื่องมือในการเก็บมูลวิจัยที่ทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสถานการณ์ที่นักวิจัยไม่มีโอกาสที่สามารถลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามได้ด้วยตนเอง
การใช้แบบสอบถามอออนไลน์โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลถือเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลได้สะดวกและหลีกเลี่ยงการลงไปในพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งประหยัดเวลา
เครื่องมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์ที่เราใช้เป็นประจำ ได้แก่
Google Forms : ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมและเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคนที่ต้องการจะสร้างแบบสอบถามออนไลน์
จุดเด่น คือ การรองรับผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่จำกัด ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกเก็บโดยอัตโนมัติไว้ที่ Google Spreadsheet ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มภาพหรือวีดีโอ รวมทั้งแบ่งปันแบบสอบถามผ่านทางอีเมลหรือเว็บไซต์ เหตุผลสุดท้ายเหนือสิ่งอื่นใดคือ ฟรี!!!
Typeform : จุดเด่นของ Typeform คือการออกแบบเครื่องมือให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย การสร้างคำถามสามารถสร้างได้ไม่จำกัด ตัวเลือกก็เช่นกัน และสามารถรายงานข้อมูลขั้นพื้นฐาน
หากเราต้องการความสามารถที่มากกว่านี้ก็สามารถเสียค่าใช้จ่ายแบบรายเดือนได้ รับรองไม่ผิดหวัง
Survey Monkey : อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่เปิดให้สร้างแบบสอบถามได้ฟรี แต่มีข้อจำกัดคือ การสร้างคำถามและจำนวนผู้เข้ามาทำแบบสอบถามถูกจำกัด
จุดเด่นของ Survey Monkey คือการออกแบบระบบที่สามารถใช้งานได้ง่าย หากต้องการตัวเลือกการใช้งานขั้นสูงเราสามารถจ่ายรายเดือนเพื่อเข้าไปใช้งาน
2) การสัมภาษณ์ผ่านวีดีโอคอล
การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์มีทั้งการสัมภาษณ์แบบเดี่ยวหรืออาจทำสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม ประเด็นสำคัญคือของการสัมภาษณ์คือ การเผชิญหน้าระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง
อีกหนึ่งกฎสำคัญของการสัมภาษณ์คือ หากมีการบันทึกเสียง ผู้วิจัยควรขออนุญาตกลุ่มตัวอย่างก่อนทุกครั้ง ลองไปดูโปรแกรมที่น่าสนใจสำหรับการวีดีโอคอลออนไลน์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน
Zoom : โปรแกรมประชุมออนไลน์ที่มาแรงแซงทุกโค้งจริง ๆ ช่วงนี้ ทั้งความง่ายในการใช้งานและความรวดเร็วตลอดการสนทนา ก่อตั้งโดยอดีตทีมงาน Cisco Webex
รุ่นฟรี : ประชุมพร้อมกันได้สูงสุด 100 คน จำกัดระยะเวลาการสนทนาครั้งละไม่เกิน 40 นาที
รุ่นเสียเงิน : ราคาเริ่มต้น 14.99$ จำนวนสูงสุดแล้วแต่โปรที่เลือก แต่สามารถประชุมต่อเนื่อง 24 ชม. เอาให้ตาแฉะไปเลย
Discord : โปรแกรมยอดนิยมสำหรับเหล่าเกมเมอร์ มีชื่อเสียงเรื่องการตัดเสียงรบกวน สามารถวีดีโอคอลได้พร้อมกันสุงสุด 10 คน
หากสมัครสมาชิกแบบรายเดือนจะมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นมา เช่น การใส่แอนิเมชัน การอัพโหลดรูปภาพ ฯลฯ
Skype : โปรแกรมวีดีโอคอลชื่อดังตั้งแต่ยุค MSN จุดเด่นคือ การรองรับอุปกรณ์ทุกชนิด โดยรุ่นฟรีสามารถประชุมพร้อมกันสูงสุด 50 คน แชร์หน้าจอของผู้ใช้งาน และบันทึกการสนทนา
รุ่นเสียเงินสามารถโทรออกไปยังเบอร์โทรศัพท์ปกติ
Google Hangout Meets : หนึ่งในฟีเจอร์ของ G Suite สำหรับการประชุมออนไลน์ รองรับการประชุมขนาดใหญ่จำนวน 100 คน เหมาะสำหรับคนที่ใช้งาน G Suite มาตลอด เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใน Hangout Meets
รุ่น Enterprise ขยายจำนวนห้องประชุมเป็น 250 คน live Steam สูงสุด 100,000 คน และบันทึกการประชุมลง Google Drive ให้อัตโนมัติ
Microsoft Teams : สำหรับคนที่ใช้ Microsoft 365 อยู่ก็จะมีโปรแกรม Microsoft Teams ที่สามารถทำได้ทั้งการสนทนา โทร วีดีโอคอล แชร์หน้าจอ แชร์ไฟล์ และรองรับการประชุมออนไลน์สูงสุด 10,000 คนต่อห้อง
Cisco Webex : Cisco Webex ถือเป็นต้นฉบับของโซลูชันการประชุมวิดีโอในองค์กร (ปัจจุบันใช้ชื่อ Webex Meetings)
คุณสมบัติของ Webex สามารถรองรับการประชุมสูงสุด 3,000 คนต่อห้อง Live Steam สูงสุด 100,000 คน (รุ่นเสียเงิน) ส่วนรุ่นฟรีมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ Zoom
3) การเขียนอีเมลเพื่อขอสัมภาษณ์
ในบางโครงการต้องมีการส่งอีเมลเพื่อขอสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เราต้องการเก็บข้อมูล ซึ่งในภาพข้างต้นคือ ตัวอย่างในการเขียนอีเมลเพื่อขอสัมภาษณ์เบื้องต้น
4) การส่งเอกสารในชั่วโมงเร่งด่วน
นอกจากการทำวิจัยให้จบ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การส่งเอกสารให้ทันเวลาที่กำหนด ดังนั้นเราจะมาแนะนำบริการส่งพัสดุและเอกสารในชั่วโมงเร่งด่วนกัน
Banana Bike : บริการส่งพัสดุและเอกสารที่มีจุดเด่นคือ “การที่เราสามารถตกลงราคากันเองกับวินมอเตอร์ไซค์หรือพี่คนขับสามล้อ” ทำให้เราทราบราคาก่อนใช้บริการ นอกจากนั้นยังให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ขอบเขตการให้บริการในกรุงเทพฯ
Lalamove : บริการรับส่งพัสดุและเอกสารเช่นกัน แต่มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นคือ (1) การรับ-ส่งสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 20 Kg ด้วยรถมอเตอร์ไซค์ (2) รับ-ส่งสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 100 Kg ด้วยรถยนต์ 5 ประตู (3) รับ-ส่งสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 1,000 Kg ด้วยรถกระบะ ใหบริการตลอด 24 ชั่วโมง ขอบเขตการให้บริการในกรุงเทพฯ ปริมณฑล
Send Ranger : บริการรับส่งเอกสารและพัสดุด้วยมอเตอร์ไซค์ โดยมีระบบการแจ้งสถานการณ์ขนส่ง พร้อมติดตามตำแหน่งคนชับ และมีการรับประกันค่าเสียหายจากการขนส่ง ขอบเขตการให้บริการในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่พิเศษโคราช
Skootar : บริการรับส่งเอกสารที่เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการเน้นเก็บเช็ค เก็บเงินปลายทาง วางบิล และส่งพัสดุอื่น ๆ มีพื้นที่ให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
Grab Bike : บริการรับส่งเอกสารและพัสดุด้วยรถจักรยานยนต์ กำหนดน้ำหนักไม่เกิน 10 Kg พร้อมการรับประกันค่าเสียหายจากการขนส่ง และมีระบบติดตามแบบ Real Time
SCG Express : มีการแบ่งรูปแบบการให้บริการออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) TA-Q-BIN บริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วนถึงบ้าน (2) COOL TA-Q-BIN บริการส่งพัสดุแบบแช่เย็นและแช่แข็งที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (3) DOCUMENT TA-Q-BIN บริการส่งเอกสารด่วน (4) TA-Q-BIN COLLECT บริการเก็บเงินปลายทางหรือบริการรับชำระค่าสินค้าที่ปลายทางสำหรับธุรกิจ โดยเก็บได้ทั้งรูปแบบเงินสดและบัตรเครดิต และ (5) FARM TO TABLE บริการขนส่งสินค้าเกษตร พืช ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเลจากหน้าฟาร์ม และส่งตรงถึงบ้าน
Deliveree : นอกจากจะมีบริการรับส่งพัสดุและเอกสาร Deliveree ยังมีบริการเสริมอื่น ๆ เช่น บริการช่วยยกของ เช่ารถเข็น หรือผู้ช่วยดำเนินการเรื่องเอกสาร
5) การโทรศัพท์ไปขอสัมภาษณ์
นอกจากการเขียนอีเมลเพื่อขอสัมภาษณ์ และการวีดีโอคอลสัมภาษณ์ ในบางสถานการณ์นักวิจัยต้องใช้วิธีการโทรศัพท์ไปเพื่อขอนัดหมายการสัมภาษณ์ หรือการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์
ขั้นตอนสำคัญในการโทรศัพท์เพื่อขอสัมภาษณ์คือ “การแนะนำตัว” ว่าเราชื่ออะไร ศึกษาอยู่คณะ มหาวิทยาอะไร กำลังทำโครงการเรื่อง (ขอแบบโดยย่อ) และตามด้วยแจ้งวัตถุประสงค์ของการโทรมาว่า ต้องการจะขอนัดหมายการสัมภาษณ์ เพื่อถามว่ากลุ่มตัวอย่างสะดวกเวลาไหน
หากกลุ่มตัวอย่างสะดวกสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ก็เริ่มอธิบายรายละเอียดโครงการวิจัยที่กำลังทำอยู่อย่างคร่าว ๆ และก่อนจะเริ่มถามคำถาม หากต้องการจะบันทึกเสียง อย่าลืมขออนุญาตกลุ่มตัวอย่างก่อน
6) Netnography การวิจัยชุมชนออนไลน์
Netnography คือวิธีการวิจัยที่ประยุกต์การวิจัยแบบ Ethonography เพื่อนำมาทำความเข้าใจวัฒนธรรมและชุมชนที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ (Robert Kozinets, 2545)
ในทางการตลาด Netnography ถูกนำมาใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ ซึ่งช่วยให้นักการตลาดเข้าผลตอบรับของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะในแง่การใช้งาน ความรู้สึกต่อแบรนด์ หรือพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า
คำว่า “Netnography” เกิดจากการเอาคำว่า Ethnography มารวมกับคำว่า Internet ซึ่งเป็นวิธีวิจัยที่ถูกนำไปใช้ทั้งในเชิงสังคมศาสตร์และธุรกิจ ในเชิงสังคมศาสตร์ Netnography ถูกนำมาใช้เพื่อเข้าใจประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และวัฒนธรรมของชุมชนในโลกออนไลน์ เช่น กลุ่ม Street Photo Thailand กลุ่มคนรักกล้องฟิล์ม เป็นต้น
ขั้นตอนการทำ Netnography โดยย่อ เริ่มจาก (1) การเลือกชุมชนออนไลน์ (2) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยหากเป็นกลุ่มหรือเพจที่มีผู้ดูแลในโซเชียลมีเดีย ผู้วิจัยควรทำการขออนุญาตผู้ดูแลก่อนเริ่มเก็บข้อมูล และ (3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
แห่ลงอ้างอิง