Fieldwork Interview แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก
1 . การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่ Fieldwork Interview มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่ Fieldwork Interview จะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก การค้นหาความจริงทั้งจาก “เหตุการณ์สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง” ซึ่งมี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เป็นหัวใจหลักของการวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง /ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว ที่บ่งบอกความชี้ชัดของตัวแบรนด์ของลูกค้า / ร่วมวางแผนเรื่องระยะเวลา และตารางเวลากับลูกค้า / กำหนดงบประมาณ / เลือกเครื่องมือและเทคนิคในการทำวิจัย / ออกแบบ แบบประเมิน /ทดสอบแบบประเมินที่สร้างขึ้น/ปรับปรุงแบบประเมิน
อบรมพนักงานให้เข้าใจในคุณลักษณะเฉพาะตัว ที่บ่งบอกความชี้ชัดของตัวแบรนด์ของลูกค้า และเนื้อหาขั้นตอนการทำงาน / ต้องวางตัวเป็นกลางทำตามหลักการอย่างเคร่งครัดไม่โอนเอียงต่อปัจจัยเร้าภายนอก
จำลองการเก็บแบบสอบถามในพื้นที่จริงเพื่อดูความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ออกสำรวจตามแบบสอบถามในพื้นที่จริง
ตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงาน
ประมวลผลและการวิเคราะห์
รายงานและนำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า
ผลการวิจัยนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆทางการตลาด ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจแบบลองผิดลองถูก ( Trial and error ) ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและทรัพยากรขององค์กรโดยไม่จำเป็น
ช่วยตอบสนองแนวคิดการตลาดสมัยใหม่ (Marketing Concept ) ว่ายุคการตลาดในปัจจุบันเป็นยุคของการแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด
ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันผู้บริหารการตลาดจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดให้คุ้มค่าอย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นคือต้องมีการวางแผน มีการคาดการณ์หรือกำหนดความต้องการของตลาด
ช่วยให้ผู้บริหารการตลาดสามารถมองเห็นแนวโน้ม หรือทิศทางของการตลาดในอนาคต