จึงเป็นประเทศที่ใช้บริการ Food delivery มากที่สุดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 37,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี คศ. 2019 และมีอัตราการขยายตัว 35% ต่อปี
ลูกค้ามากกว่า 50% ใช้บริการ Food delivery มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ Food delivery ในจีนขยายตัวอย่างมาก สืบเนื่องมาจากชีวิตคนในเมืองซึ่งต้องการความสะดวกสบายและการที่จีนมีเครือข่าย Internet อย่างทั่วถึงทำให้การสั่งอาหารโดยการใช้ Smart phone เป็นไปอย่างแพร่หลาย อีกประการหนึ่งได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารถูกลงอย่างมากเนื่องจากมีผู้ประกอบการ Food delivery หลายรายทำให้เกิดการแข่งขันเป็นประโยชน์กับ ผู้บริโภค Application สองรายใหญ่ของจีนคือ Ele.me และ Meituan Dianping มีลูกค้ารวมกันประมาณ 90% ของลูกค้าที่ใช้บริการ Food delivery ทั้งหมด
การแข่งขันในการให้บริการ Food delivery ทำให้การสั่งอาหารทาง online ถูกกว่าการเดินทางไปรับประทานอาหารในภัตตาคาร Ele.me เป็นบริษัทในเครือของ Alibaba ในขณะที่ Tencent เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Meituan Dianping
ผู้บริโภคที่ใช้บริการ Food delivery จะเป็นพนักงานที่ทำงานใน office (white – collar workers ) ในเมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง
ผู้ประกอบการ Food delivery กำลังขยายกิจการไปยังเมืองเล็กๆซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีความต้องการการใช้บริการ Food delivery เพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการจะให้บริการที่หลากหลายเพิ่มขึ้น และให้บริการในช่วงเวลาที่มากขึ้น เช่น เวลาที่ความต้องการไม่สูงมาก เวลา (หลังอาหารเช้า ก่อนอาหารเที่ยง) น้ำชาตอนบ่ายและอาหารมื้อดึก
การขยายตัวของธุรกิจ Food delivery ในจีน มีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมเนื่องจากใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวนมากและเป็นการใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง ไม่มีการนำไป Recycle
จากผลของการวิจัย การบริโภคอาหารที่ใช้บริการ Food delivery ทำให้เกิดขยะจากภาชนะพลาสติก 65 ล้านตัน ตะเกียบ 20 ล้านคู่ต่อวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ต้องใช้เวลามากกว่า 30 ปี ในการทำลายผลิตภัณฑ์พลาสติก ทำให้ผู้ประกอบการ Food delivery หันมาใช้ถุงกระดาษ หรือการใช้ตะเกียบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม
ประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับจีน ที่ผู้บริโภคหันมาสนใจการสั่งอาหารโดยใช้ Applications ทำให้การเดินทางไปรับประทานอาหารตามภัตตาคารลดน้อยลง การสั่งอาหารโดยใช้ Food delivery Applications คิดเป็นมูลค่า 8% ของมูลค่าธุรกิจด้านภัตตาคารในประเทศไทย อุตสาหกรรม Food delivery ในปี คศ. 2019 ของไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 33 – 35 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากปี คศ. 2018 เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความความสะดวกสบาย ธุรกิจ Food delivery ของไทย สมควรให้ความสำคัญกับผลกระทบที่จะเกิดกับ สภาวะแวดล้อมและควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย # Researcher Thailand # environment # Cebc # grai phongam # economics