ข่าวสาร

surveymarketthailand

การเขียนแผนการตลาด แบบมีกลยุทธ์

การเขียนแผนการตลาดเริ่มจากการตั้งเป้าหมาย การแสดงข้อมูลสนับสนุน การอธิบายกลยุทธ์การตลาด การอธิบายตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก การอธิบายแผนและเทคนิคการตลาดต่างๆ และการสรุปข้อมูลแผนการตลาดอีกที แผนการตลาดที่ดีต้องมีความชัดเจนในกลยุทธ์และวิธีปฏิบัติ และต้องวัดผลได้อย่างแน่นอน

#1 การตั้งเป้าหมายการตลาด

ขั้นตอนแรกในการเขียนแผนการตลาด ก็คือการตั้งเป้าหมายของการตลาดครั้งนี้ คุณอาจจะเริ่มด้วยการเขียนเป้าหมายการตลาดหลายๆอย่าง ที่คุณอยากทำให้ได้ออกมาก่อน แล้วค่อยคัดเป้าหมายอีกทีตามความเป็นไปได้ หลังจากที่คุณพิจารณากลยุทธ์ต่างๆและทรัพยากรที่คุณมีอยู่แล้ว

#2 การหาข้อมูลและการสรุปข้อมูล

แผนการตลาดที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุนก็ไม่ต่างอะไรจากการคาดเดาทั่วไป วิธีที่เห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การนำเสนอข้อมูลการตลาดด้วยเครื่องมือธุรกิจต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น SWOT หรือ Porter’s Five Forces สามารถดูวิธีการทำได้จาก คู่มือการทำSWOT และ คู่มือการทำ Five Forces นะครับ

หรือถ้าคุณมีเป้าหมายการตลาดที่ชัดเจนจากข้อ 1 แล้ว คุณก็สามารถนำเป้าหมายการตลาดพวกนี้มาสรุปเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้อีก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปัจจุบันยอดขายของคุณคือ 1 ล้านบาทต่อปี แล้วเป้าหมายการตลาดของปีหน้าคือ 2 ล้านบาท คุณก็สามารถนำตัวเลขต่างๆมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้ เหมาะสำหรับนักการตลาดสายคำนวณ

ตัวเลขการตลาดที่คนนิยมดูกันได้แก่

  • ยอดขาย จำนวนขาย และกำไร
  • จำนวนลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่ซื้อซ้ำ
  • ต้นทุนในการได้ลูกค้ามา (Acquisition Cost)
  • งบการตลาดที่ใช้ในแต่ละช่วง
  • ส่วนแบ่งการตลาดเทียบกับคู่แข่ง (Market Share)

โดยข้อมูลข้างบนเราสามารถแบ่งเป็น สำหรับแต่ละช่องทางการตลาด หรือสำหรับแต่ละสินค้าได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนขององค์กรคุณ

#3 อธิบายกลยุทธ์การตลาด

หลังจากที่คุณมีเป้าหมายและมีข้อมูลวิเคราะห์ต่างๆแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณต้องทำก็คือการสร้างกลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้เป้าหมายของแผนการตลาดของคุณเป็นจริงได้

หากเป้าหมายของคุณคือการทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 2 เท่า การนั่งอยู่เฉยๆและรอให้ลูกค้ามาซื้อเพิ่มเองก็คงไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเท่าไร

ในส่วนเรื่องการสร้างกลยุทธ์การตลาด ถ้าจะให้เขียนในบทความนี้ก็คงไม่จบ ให้คุณลองพิจารณาวิธีการทำการตลาดหลายๆอย่างและเปรียบเทียบดูว่าช่องทาง วิธี กลยุทธ์แบบไหนสามารถสร้างรายได้ได้เยอะที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด (และถ้าในองค์กรคุณไม่มีคนที่สามารถทำได้ คุณจะสามารถหาคนอื่นมาช่วยทำได้หรือเปล่า)

เครื่องมือการตลาดที่ใช้ในการเขียนกลยุทธ์ ที่ใช้ทั่วไปมีดังนี้

4P (เหมาะสำหรับคนที่อยากนำสินค้าใหม่ลงสู่ตลาด) (วิธีการทำ 4P)
STP (เหมาะสำหรับคนที่อยากลงสินค้าใหม่ หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขายสินค้าเดิม) (วิธีการทำ STP)

สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องไม่เขียนอธิบายกลยุทธ์แบบขอไปที กลยุทธ์การตลาดที่ดีต้องมีรายละเอียด หากคุณบอกว่าคุณจะลองการตลาดออนไลน์เพิ่ม คุณก็ต้องเขียนไปเลยว่าจะไปลงการตลาดออนไลน์ส่วนไหนเป็นพิเศษ และการทำการตลาดออนไลน์ของคุณประกอบไปด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง คุณต้องใช้ตัวเลขไหนในการวัดผล

#4 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI) 

หัวหน้าในที่ทำงานเก่าของผมเคยพูดว่า ‘อะไรที่วัดค่าไม่ได้ ก็ไม่มีค่าให้เราทำ’ เพราะฉะนั้นในการเขียนแผนการตลาดเราต้องสามารถหาตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) ของทุกกลยุทธ์ของเรา ยิ่งเราสามารถวัดค่าใช้จ่ายและผลลัพธ์ของทุกขั้นตอนได้ก็ยิ่งดี

ให้คุณนำกลยุทธ์จากข้อที่ 3 ด้านบน มาลองแยกเป็น ‘หน้าที่ปฏิบัติ ที่ต้องทำแต่ละวัน’ แล้วดูว่าแต่ละหน้าที่ มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักอะไรบ้าง ตัวชี้วัดประสิทธิภาพแต่ละอย่างมีความสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของแผนการตลาดเราหรือเปล่า

เราควรตรวจสอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพนี้ทุกอาทิตย์ทุกเดือน (บางคนดูทุกวันด้วยซ้ำ) เพื่อดูว่าแผนการตลาดของเราเป็นไปตามที่วางไว้หรือมีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไข ยกตัวอย่างนะครับ คุณคิดว่าหัวหน้าแผนกฝ่ายขายดูยอดขายบ่อยแค่ไหน?

เช่น หากแผนการตลาดของคุณเขียนว่าจะเพิ่มยอดขายออนไลน์ผ่าน Facebook ให้ได้ หกแสนบาทต่อปี ก็เท่ากับว่าในแต่ละเดือนคุณต้องขายให้ได้หกหมื่นบาท และก็เท่ากับว่าในแต่ละวันคุณต้องขายให้ได้สองพันบาทนั่นเอง

หากคุณคิดว่าลูกค้าแต่ละคนซื้อเฉลี่ยครั้งละห้าร้อยบาท คุณก็ต้องหาลูกค้าให้ได้สี่คนต่อวัน และถ้าคุณลงให้ลึกไปอีกว่าคุณต้องมีลูกค้าคลิ๊กโฆษณาคุณสิบคนกว่าจะซื้อหนึ่งออเดอร์ คุณก็ต้องทำโฆษณาให้ได้ สี่สิบคลิ๊กนั่นเอง

#5 ตารางเวลาแผนการตลาด 

หลังจากที่เรามีกลยุทธ์การตลาดและตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักแล้ว เราก็ต้องนำแผนทั้งหมดมาปะติดปะต่อดูว่าในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ แต่ละเดือน หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดมีอะไรบ้าง และใครเป็นคนรับผิดชอบถ้าผลออกมาไม่ดี

ยกตัวอย่างเช่น หากแผนการตลาดของคุณต้องการติดต่อลูกค้า 20 คนในหนึ่งเดือน ทุกเดือน และคุณต้องใช้พนักงาน 1 คนเพื่อติดต่อลูกค้า 5 คนทุกเดือน คุณก็ต้องมีพนักงานอย่างน้อย 4 คนที่ดูแลเรื่องการติดต่อลูกค้าทั้งหมด แผนการตลาดทุกอย่างมีข้อจำกัดด้านเวลาทั้งนั้น ผู้หญิง 1 คนสามารถมีลูกได้ในเวลา 9 เดือน แต่ผู้หญิง 9 คนไม่สามารถมีลูกได้ในเวลา 1 เดือน

แผนการตลาดจะชัดเจนที่สุด ถ้าคุณสามารถคำนวณได้ว่างานแต่ละอย่าง ต้องแบ่งเวลายังไงบ้าง…ปัญหาก็คือการคิดเวลาทำงานในอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และต้องใช้ประสบการณ์ทำงานสูง

ถ้าคุณไม่เคยทำงานแบบนี้มาก่อน คุณก็คงไม่สามารถกะได้ว่างานแต่ละอย่างใช้เวลานานแค่ไหน…ซึ่งหากคุณมีปัญหาแบบนี้จริงๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการทดลองทำดูก่อน เพื่อดูว่าผลตอบรับเป็นยังไงบ้าง แล้วค่อยนำมารวมในแผนการตลาดอีกทีหลังจากที่คุณมีข้อมูลพร้อมแล้ว

…ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณยังไม่รู้ว่าการทำการตลาดบน Google ใช้เวลาแค่ไหนคุณก็ควรลองศึกษาและลองทำดูก่อน ก่อนที่คุณจะนำการตลาดบน Google มาเป็นหัวใจหลักของแผนการตลาดดังนี้

#6 สรุปแผนการตลาดด้วย Executive Summary

ในตอนจบคุณก็ต้องสรุปแผนการตลาดด้วยการเขียน Executive Summary อีกที 

Executive Summary ที่ดีอาจจะยาวหนึ่งย่อหน้า หนึ่งหน้า หรือสามหน้า ก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้อ่านของคุณ สำหรับผมแล้วถ้าคุณสามารถเขียน Executive Summary ในหนึ่งหน้าพร้อมด้วยข้อมูลสนันสนุนนิดๆหน่อยก็น่าจะโอเคแล้ว ตัวอย่างของ Executive Summary หนึ่งย่อหน้าเขียนดังนี้ครับ

ตัวอย่าง:

เป้าหมายของแผนการตลาดนี้คือการ __(เพิ่มยอดขายให้บริษัทสองเท่า)_. ที่ผ่านมาทางบริษัทได้มีการทดลองช่องทางการตลาดออนไลน์โดย ค้นพบว่าช่องทางนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นได้ 20% เดือนต่อเดือน

เพราะฉะนั้นหากเราสามารถลงงบการตลาดผ่านช่องทางนี้เป็นจำนวน 50,000 บาทต่อเดือน เราก็จะสามารถได้ลูกค้าใหม่มากขึ้นเป็นจำนวน 10,000 คนทุกเดือน ซึ่งคิดเป็นรายได้เฉลี่ยคือ 5,000,000 บาทต่อเดือนนั่นเอง ซึ่ง 5,000,000 ต่อเดือนก็คือ 60,000,000 บาทต่อปีหรือสองเท่าของรายได้ปัจจุบันนั่นเอง

#7 แผนการตลาดที่ใช้ได้จริง

หากคุณเขียนรายงานส่งอาจารย์ หน้าที่ของคุณก็คงจบที่การเขียน Executive Summary แต่สำหรับคนที่เขียนแผนการตลาดเพื่อทำงานจริงๆ คุณก็ต้องเข้าใจว่า ไม่มีการวางแผนไหน…ที่จะตรงตามแผน 100%

หมายความว่า แผนการตลาดทุกอย่างมีโอกาสที่จะผิดพลาด และผู้ดำเนินการก็ต้องพิจารณาตัวชี้วัดประสิทธิภาพเสมอ เพื่อหาวิธีปรับปรุงแก้ไขเรื่อยๆ หากคุณดำเนินการแผนการตลาดมาแล้ว 10-20% (⅕ ของแผน) แล้วคุณรู้สึกว่า ‘ไม่น่าจะทำได้’ คุณก็คงจำเป็นต้องหาตัวช่วยหรือไม่ก็หาวิธีปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันมากขึ้น 

เรื่องของการทำงานให้เร็ว ทำให้มีประสิทธิภาพเป็นหัวข้อที่ผู้อ่านหลายคนเรียกร้องให้ผมเขียน ในส่วนนี้ผมได้ทำคู่มือ มินิอีบุ๊ค ทำงานให้เร็ว ทำงานอย่างฉลาด ที่ทุกคนสามารถโหลดได้ฟรีๆเลย คลิกตรงนี้ ครับ

การปรับเปลี่ยนแผนการตลาดไม่ใช่เรื่องแย่ ตรงกันข้ามเลยครับการยึดติดกับแผนการตลาดเดิมๆมากไปอาจทำให้คุณพลาดโอกาสทางธุรกิจหลายอย่างได้ คนที่ทำธุรกิจคงจะเข้าใจดีว่าตัวแปรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน คู่แข่ง ลูกค้า หรือเทรนด์เศรษฐกิจ ก็ล้วนเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก็คือเราจะทำยังไงเมื่อแผนไม่เป็นไปตามแผน และเราจะต้องทำยังไงบ้างถึงจะหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดได้

Credit Source: https://thaiwinner.com/marketing-plan/

ติดต่อเราได้ที่

Website: http://surveymarketthailand.co.th/serviceth/

Facebook : https://www.facebook.com/Surveymarketth

LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I

หากเพื่อนๆ สนใจที่จะทำธุรกิจแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนยังไง เพื่อนๆ สามารถติดต่อหรือ Inbox เข้ามาสอบถามและใช้บริการเราได้เลยครับ

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect