ข่าวสาร

Content01-July12

7 ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจสำหรับมือใหม่ รับรองยอดพุ่ง กำไรเพิ่ม

“แผนธุรกิจ” คือ แนวทางที่จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่แนวคิด ที่มา วิธีการ และจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ และที่สำคัญหากคุณสามารถวางแผนธุรกิจได้ดี แถมยังนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการจัดหาเงินทุน หรือได้รับการอนุมัติจากผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่ายขึ้นครับ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอนในการเขียนทั้งหมด 7 ข้อดังนี้

  1. Business Idea (แนสคิดหลักในการทำธุรกิจ)
    แนวคิดหลักในการทำธุรกิจ คือ ส่วนที่เราจะใช้ในการนำเสนอ สร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจให้กับผู้บริโภค จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในแผนธุรกิจ เพราะข้อมูลส่วนนี้สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนสนใจในธุรกิจของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งประกอบด้วย
  2. Business Background (ความเป็นมาของธุรกิจ)
    ความเป็นมาของธุรกิจ คือ การอธิบายถึงลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน และสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่อยู่รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
  3. Brand Analysis (วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส
    คือการนำแผนธุรกิจทั้งหมด มาวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้เรามองเห็นถึงปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของ SWOT Analysis
  4. Marketing Plan (แผนการตลาด)
    เป็นส่วนที่อธิบายถึงกลยุทธ์ในการทำการตลาด การสื่อสารการตลาด และวิธีการเข้าถึงลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะสรุปโดยใช้ส่วนผสมการตลาด (4P Marketing) ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้แหล่งเงินทุนมองเห็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความเป็นไปได้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และอยากร่วมลงทุนกับเรามากขึ้น
  5. Operation Plan (แผนการดำเนินงาน)
    คือการวางกำหนดการในการสร้างธุรกิจ ซึ่งแต่ละสถานประกอบการจะมีรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานต่างกันไป อย่างเช่นธุรกิจร้านอาหารอาจจะเพิ่มเติมในส่วนของตัวช่วยระบบการจัดการร้าน POS เข้ามาในขั้นตอนควบคุมวัตถุดิบและคลังสินค้าด้วยก็ได้ โดยขั้นตอนในการดำเนินหลัก ๆ จะประกอบด้วย
  • แผนการผลิต
  • แผนการควบคุมคุณภาพ
  • แผนการบริหารพนักงาน
  • แผนการควบคุมวัตถุดิบ
  • แผนการจัดส่ง
  • แผนการควบคุมคลังสินค้า
  • แผนการบริการลูกค้า อ่านต่อได้ที่
  1. Financial Plan (แผนการเงิน)
    แผนการเงินเป็นส่วนที่สำคัญมากในการวางแผนธุรกิจ เพราะเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงสูง และหากวางแผนไม่ดีอาจจะทำให้ธุรกิจของคุณเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ ซึ่งส่วนนี้มีผลต่อการตัดสินใจของสถาบันบริการเงินทุนเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะมีข้อมูลดังนี้
  • แผนการเงินเพื่อการลงทุน
  • แผนการประมาณรายได้
  • สถานะทางการเงินของบริษัท เช่น กำไรขาดทุน กระแสเงินสด
  • การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน หรือที่เรียกว่า การพยากรณ์ยอดขาย
  • ระยะเวลาการคืนทุน
  • คำนวณจุดคุ้มทุน
  1. Emergency Plan (แผนการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน)
    คือ การวางแผนเพื่อแก้ไขสถานกาณ์ฉุกเฉิน เช่น ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ หรือการร้องเรียนจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่น การวางแผนรับมือปัญหาด้านเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
    จากแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจจะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา ต่อยอด และมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเราวางแผนธุรกิจจะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจ และประเมินถึงความเป็นไปได้ได้ที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างชัดเจน โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมใช้ในแผนธุรกิจคือ Business Model Canvas
    สุดท้ายนี้ในการสร้างธุรกิจ นอกจากเรื่องของไอเดียในการสร้างสรรค์แล้ว การมีแผนการที่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะแผนธุรกิจถือเป็นส่วนสำคัญในการจูงใจสถาบันและนักลงทุนสนใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนกิจการของเรา แผนการที่ดีจะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงและทำให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างมั่นคงนั่นเอง

Credit Source: https://www.wongnai.com/busi…/how-to-writing-business-plan
ติดต่อเราได้ที่
Website: http://surveymarketthailand.co.th/serviceth/
LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect