การสร้างแบรนด์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกแบรนด์ที่สร้างความสัมพันธ์ได้ดี หรือสร้างความชอบให้กับกลุ่มเป้าหมาย แต่ถ้าเกิดว่าไม่ได้ทำแบรนด์ขึ้นมาจะเกิดอย่างไรขึ้น สิ่งที่ตามมาจากการไม่ได้ทำแบรนด์คือการที่กลุ่มเป้าหมายเองหรือกลุ่มผู้บริโภคจะทำการสร้างแบรนด์ให้กับแบรนด์นั้นเองไม่ว่าจะเป็น Mood & Tone หรือ Charactor ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียงต่อแบรนด์ในระยะยาวได้ขึ้นมาในรูปแบบที่แบรนด์อยากจะเป็นไม่ตรงกับตัวตนของแบรนด์ที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้การสร้างแบรนด์นั้นประสบความสำเร็จ การทำแบรนด์ด้วยความจริงใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งวันนี้ผมมีวิธีการ 5 ขั้นมานำเสนอ
- เข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณ : ในชีวิตประจำวันนั้นเราเจอผู้คนมากมาย และใช้ภาษาหรือวิธีการพูดที่หลากหลายกับกลุ่มคนหลายแบบที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ตอนทำแบรนด์ในการสื่อสารก็เช่นกัน การที่รู้ว่าจะต้องสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าแต่ละแบบอย่างไรนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยยังคงตัวตนและลักษณะของแบรนด์เอาไว้ได้ ซึ่งถ้าคุณยังไม่ได้ทำการระบุตัวตนและวิธีการสื่อสารเอาไว้ สิ่งที่ควรทำขึ้นมาคือการสร้าง Brand Archetype และการทำ Consumer Persona ขึ้นมา เพื่อที่จะได้รู้ว่าด้วยบุคลิกของแบรนด์คุณจะทำการสื่อสารกับ Persona แค่ละแบบได้อย่างไรได้เหมาะสมมากที่สุดขึ้นมา นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจใน Persona แต่ละแบบในเชิงลึกในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากขึ้น
- ใช้ Core Value ของแบรนด์ : ความเป็นแบรนด์ของคุณนั้นจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างจริงใจ ด้วยการใช้ความเชื่อของแบรนด์ หรือจุดยืนของแบรนด์ในการเริ่มต้นประกาศว่าแบรนด์ที่ทำนี้เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร จะทำอะไรให้กับ Consumer ขึ้นมา ด้วยความคิดเช่นนี้จะเข้าไปจับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ว่า แบรนด์คุณนั้นคือใคร และกำลังทำอะไร มีอะไรมานำเสนอ สุดท้ายสิ่งสำคัญที่ได้จากการนำเสนอตัวเองเช่นนี้คือการได้บอกว่า ทำไมถึงต้องมาใช้แบรนด์คุณมากกว่าคู่แข่ง ทั้งหมดนี้ต้องออกมามากกว่าการสื่อสาร แต่เป็นตั้งแต่การทำ Corporate Identity, Brand Identity และการกระทำกับการทำกิจกรรมของแบรนด์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันอีกด้วย
- ทำในสิ่งที่ควรทำ และอย่าไปทำอะไรนอกเหนือจากนั้น : ตัวแบรนด์คุณเองนั้นมีสิ่งที่เป็น Brand Archetype และ Brand Core Value กำหนดอยู่ สิ่งที่ควรทำคือการทำความเข้าใจว่าด้วยบุคลิกลักษณะแบบนี้ควรจะทำการสื่อสารและกิจกรรมแบบไหนที่จะสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ออกมา ตัวอย่างง่าย ๆ คือถ้าคุณเป็นแบรนด์ที่ดูดี ก็ไม่ควรทำการสื่อสารหรือทำกิจกรรมด้วยการใช้คำและสีที่ทำให้ดูราคาถูกลงมา ด้วยเหตุนี้สิ่งที่นักการตลาดหรือคนทำแบรนด์ควรทำคือการลองหาว่า คำ หรือวิธีการสื่อสารแบบไหนที่เหมาะกับแบรนด์ตัวเอง ด้วยการ เขียนคำต่าง ๆ ออกมา และเลือกดูว่าคำแบบไหนที่เหมาะกับแบรนด์เรา และคำแบบไหนที่เราไม่อยากจะเป็น เช่น มีอารมณ์ขำแต่ไม่ตลกจนเกินไป ฉลาดแต่ไม่แกมโกง หรือ เก่งแต่ไม่อวดรู้
- เอาทั้งทีมมาทำความเข้าใจ : การสร้างแบรนด์และการสื่อสารเรื่องภาพลักษณ์แบรนด์นั้นไม่ใช่หน้าที่ใครหน้าที่หนึ่ง แต่เป็นการที่ทั้งองค์กรและคนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์นั้นช่วยกันสร้างขึ้นมา เพราะพนักงานหรือทีมของแบรนด์ทุกคนนั้นคือตัวแทนแบรนด์ทั้งหมด ดังนั้นการที่ต้องเอาทั้งทีมมาทำความเข้าใจว่าแบรนด์เรากำลังทำอะไร มีลักษณะอย่างไร และกลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง จะสื่อสารกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนอย่างไร ด้วยการสื่อสารที่จะสะท้อนแบรนด์แบบไหนขึ้นมา ทั้งหมดนี้จะช่วยตั้งความเข้าใจที่ตรงกันต่อทุกคนในการทำงานในการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์และทำการแสดงออกของแบรนด์โดยฝ่ายต่าง ๆ ออกไป
- ปรับแต่งตัวแบรนด์ตลอดช่วงเวลา : การสร้างแบรนด์ก็เหมือนการเติบโตของคนที่ต้องมีการเติบโตขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นการที่แบรนด์มีการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารนั้นเป็นเรื่องปกติของแบรนด์ว่าเมื่อผ่านไปในหลาย ๆ ปี การสื่อสารของแบรนด์ต้องมาปรับปรุงหรือปรับแต่งให้เข้ากับยุคสมัยและการเติบโตของแบรนด์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ทีมคุณควรจะมีการประชุมในการที่จะสร้างแบรนด์อย่างไรขึ้นมาหรือจะสื่อสารให้เหมาะกับช่วงเวลาต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างไรอีกด้วย