การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สําคัญมากในการวิจัย ผลของการวิจัยจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนํามาวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีจะทําให้ได้ข้อมลที่มี ความถูกต้องและเชื่อถือได้ หากข้อมูลที่ได้รับมาไม่ถูกต้อง และขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้นแล้ว ถึงแม้จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างไรก็ไม่อาจทําให้ผลการวิจัยมีอณุภาพขึ้นมาได้ ผู้วิจัยควรจะรวบรวมข้อมูลให้ตรงกับปัญหาที่จะทําการวิจัย ลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1 กำหนดช่วงเวลาในการเก็บข้อมูล
เวลาถือเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่สําคัญที่ จะต้องกําหนดให้เหมาะสม และสะดวกแก่ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์
2 การทดสอบแบบสอบถาม
ควรมีการทดลองใช้แบบสอบถามก่อนออกสนามจริงเพื่อ ความมั่นใจในแบบสอบถามว่าจะสามารถเข้าใจความหมาย ถ้อยคําในแบบสอบถามได้อย่าง ถ่องแท้หรือไม่ คำตอบเป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นหรือไม่
3 การฝึกอบรมพนักงานสัมภาษณ์
การออกสนามจะต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถ ประกอบกับความเต็มใจในการทํางานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะงานวิจัยในสาขาเฉพาะต่าง ๆ เช่น ทางการตลาด จะมีรูปแบบและถ้อยคําที่แตกต่างออกไปจากการวิจัยสาขาอื่นๆ
4 การเตรียมแบบสอบถามและอุปกรณ์ที่จําเป็น
จะต้องมีเครือข่ายเพื่ออํานวยความ สะดวกในการออกสนาม เช่น จดหมายนําหรือแนะนําตัว บัตรประจําตัว แผนที่ แบบฟอร์มควบคุมงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความสําเร็จของการใช้แบบสอบถาม
Credit Source: https://sites.google.com/site/napayaran/bth-thi6/karte-ri-ym-ngan-keb-khxmul-phakh-snam
ติดต่อเราได้ที่
Website: http://surveymarketthailand.co.th/serviceth/
LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I
Facebook: https://www.facebook.com/Surveymarketth
หากเพื่อนๆ สนใจที่จะทำวิจัยตลาดและเก็บแบบสอบถาม แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง เพื่อนๆ สามารถ Inbox เข้ามาสอบถามและใช้บริการเราได้เลยครับ
#SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด