ข่าวสาร

การออกแบบยังไม่มีชื่อ (56)

เศรษฐกิจประเทศไทยปีนี้จะฟื้นตัวไหม?

ช่วงนี้หลายสำนักวิจัยทยอยประกาศตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้ออกมา ซึ่งเป็นการปรับลดโดยถ้วนหน้า

คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2564

จะเห็นได้ว่า การระบาดระลอกล่าสุดของโควิด-19 ซึ่ง ณ วันนี้ ยังไม่ทราบว่าจะจบลงอย่างไร เมื่อไร เป็นปัจจัยหลักของการปรับลดประมาณการลงกันในครั้งนี้

คงต้องจับตาดูตัวเลขคาดการณ์จีดีพีของกระทรวงการคลังในปลายเดือนนี้ และตัวเลขของสภาพัฒน์ฯที่จะตามมาติดๆในอีกสามสัปดาห์ว่าจะเป็นเท่าไร โดยก่อนการระบาดระรอกใหม่ สองหน่วยงานนี้มองตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีทั้งปีไว้ที่ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 3.0 ต่อปีตามลำดับ

เห็นตัวเลขต่ำๆของภาคเอกชนที่ออกมาก่อนแบบนี้ เชื่อได้ว่า โอกาสในการถดถอยซ้ำสองของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง

การถดถอยที่ผมพูดถึงนี้ หมายถึง การถดถอยทางเทคนิค (Technical recession) ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราการขยายตัวของจีดีพีจากไตรมาสหนึ่งไปอีกไตรมาสหนึ่ง (Quarter-on-quarter growth) ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส ที่เรียกว่าทางเทคนิค ก็เพราะว่า ไม่ทุกครั้งที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบไตรมาสต่อไตรมาสติดลบติดต่อกันสองไตรมาส จะแปลว่าเศรษฐกิจแย่ เนื่องจากว่าบางครั้ง การติดลบอาจจะมาจากความผันผวนของเพียงบางองค์ประกอบของจีดีพีซึ่งไม่ได้สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การถดถอยทางเทคนิคเป็นนิยามที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดของนิยามเศรษฐกิจถดถอย เพราะคำนวณได้ง่ายและข้อมูลไม่ล่าช้ามาก ในขณะที่บางนิยามต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหลังจากไตรมาสสิ้นสุดลง

ณ จุดนี้ เรายังไม่ทราบอัตราการขยายตัวของจีดีพีจากไตรมาส 4  ของปีที่แล้ว มาไตรมาส 1 ของปีนี้ ต้องรอจนกว่าสภาพัฒน์ฯจะแถลงตัวเลขในเดือนพฤษภาคม แต่จากข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือน มีความเป็นไปได้สูงมากที่อัตราการขยายตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาสของจีดีพีในไตรมาส 1 จะติดลบจากผลพวงของการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ในช่วงต้นปี

ดังนั้น คำถาม คือ อัตราการขยายตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาสของจีดีพีในไตรมาส 2 จะติดลบด้วยหรือไม่ ถ้าดูจากตัวเลขคาดการณ์จีดีพีทั้งปีที่ออกมา ผมเชื่อว่าหลายสำนักที่ให้ตัวเลขค่อนข้างต่ำมองว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยซ้ำสองในไตรมาส 2 นี้ หลังจากที่อัตราการขยายตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาสติดลบติดต่อกันถึงสี่ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2562 ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ซึ่งผมจะนับว่าเป็นการถดถอยครั้งแรก

แม้ความไม่แน่นอนจะมีสูงมาก และไตรมาส 2 เพิ่งเริ่มต้น แต่ส่วนตัวผมยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยซ้ำสอง หลักๆ แล้ว การขยายตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาสของจีดีพีในไตรมาส 2 ขึ้นอยู่กับ แรงชักเย่อระหว่างการใช้จ่ายภาคเอกชนในประเทศที่ถูกกระทบจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หายไปตั้งแต่การระบาดระลอกสามในเดือนเมษายน กับการส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าการระบาดไม่ทวีความรุนแรงกว่าในปัจจุบันอย่างมีนัย ด้วยมาตรการรัฐหลายมาตรการที่ออกมา และความคุ้นชินที่มากขึ้นของประชาชนกับตัวเลขผู้ติดเชื้อ น่าจะทำให้การใช้จ่ายในประเทศไม่ลดลงมากนักจากไตรมาส 1 ขณะที่เศรษฐกิจต่างประเทศดูเหมือนจะดีวันดีคืนขึ้นทุกวัน โดยรวมแรงส่งจากเศรษฐกิจต่างประเทศจึงน่าจะชนะแรงฉุดจากเศรษฐกิจในประเทศได้

นอกจากนี้ ต่อให้ในไตรมาส 2 เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยซ้ำสองจริงๆ ถ้าการระบาดไม่ได้รุนแรงขึ้น ไตรมาสที่เหลือของปีน่าจะมีอัตราการขยายตัวเป็นบวก เพราะการใช้จ่ายในประเทศในไตรมาส 3 คงไม่หดตัวลงไปอีกจากไตรมาส 2 

ดังนั้น ถ้าถามผม ผมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับโอกาสในการถดถอย “ทางเทคนิค” ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 

สิ่งที่ผมห่วงมากกว่าตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 คือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ในบทความ “ลุ้นระทึกเศรษฐกิจไทย” เมื่อตอนต้นปี ผมไม่ได้คาดหวังกับเศรษฐกิจปีนี้เท่าไรนัก ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยจะถดถอยซ้ำสองในไตรมาส 2 นี้หรือไม่ ไม่ว่าจีดีพีปีนี้ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 1 ร้อยละ 2 หรือร้อยละ 3 ก็ไม่ได้ต่างกันมาก กล่าวคือ ยังง่อยเปลี้ยเหมือนกัน ที่ผมลุ้น คือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปีหน้า จากการกลับมาอย่างมีนัยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ถ้าสถานการณ์การระบาดในประเทศเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ การจะหวังให้มีนักท่องเที่ยวมาเมืองไทยเป็นจำนวนมากแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ล่าสุด ผมจึงดีใจมากที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการสั่งวัคซีนเพิ่มเป็นจำนวนมาก แต่ทางออกของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนวัคซีนอย่างเดียว ยังขึ้นกับการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุดด้วย ผมเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาข้อเสนอของสภาหอการค้าไทยที่ภาคเอกชนเสนอตัวเข้ามามีบทบาทในการกระจายวัคซีน ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการกระจายวัคซีนได้ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ ที่สามารถฉีดวัคซีนได้ถึงวันละ 3 ล้านคน (จากประชากร 330 ล้านคน) ปัจจัยหนึ่งมาจากความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการกระจายวัคซีน (เช่น โครงการความร่วมระหว่างรัฐกับเชนร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาทั่วประเทศ https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/retail-pharmacy-program/index.html)

ว่าแล้วก็มาลุ้นเศรษฐกิจไทยกันต่อไป

Sources :

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_23Apr2021.aspx
https://www.researcherthailand.co.th/
https://www.genzmanpower.com/
https://www.theprocontent.com/

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect