ข่าวสาร

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม (Focus group)

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม (Focus group)
สิงหาคม 27, 2562 northnfe
การสนทนากลุ่ม เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการนั่งสนทนาของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informant) เป็นกลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจะถูกคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง หรือเป็นผู้สามารถให้ข้อมูลที่ต้องการได้ ดังนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจึงจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะหลาย ๆ ประการที่คล้ายคลึงกัน (Homogeneity) โดยกลุ่มคนเหล่านี้ จะถูกเชิญให้มาร่วมวงสนทนากันอย่างเป็นธรรมชาติ ในบรรยากาศที่เหมาะสม โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง 8 – 10 คน (บางตำราระบุจำนวน 6 – 12 คน)

องค์ประกอบของการสนทนากลุ่ม มีดังนี้
ประเด็นที่ต้องการสนทนา ซึ่งจะทำให้สามารถรับทราบความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ
แนวคำถามที่จะต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า และจะต้องมีการจัดเป็นหมวดหมู่ และลำดับก่อนหลัง เพื่อป้องกันความสับสนในการสนทนา
การคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ตรง และมีภูมิหลังคล้าย ๆ กันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
บุคลากรที่จะดำเนินการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย
พิธีกร ทำหน้าที่ถามคำถาม และนำการพูดคุย รวมทั้งควบคุมการสนทนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน
ผู้จดบันทึกการสนทนา ซึ่งจะจดทั้งคำพูด อากัปกริยา ท่าทาง อารมณ์ รวมทั้งการบันทึกผังการนั่งของสมาชิกผู้เข้าร่วมสนทนาด้วย
ผู้ช่วยดำเนินรายการ เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้สนทนาทุกด้าน อาทิ การบริการน้ำ อาหารว่าง รวมทั้งคอยควบคุมไม่ให้กลุ่มผู้สนทนาได้รับการรบกวนจากภายนอก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย
เครื่องบันทึกเสียง โดยจะต้องเตรียมสำรองแบตเตอรี่ให้เพียงพอ
สถานที่สำหรับการสนทนา ซึ่งจะต้องเป็นสถานที่ที่สมาชิกรู้จัก มีความสะดวกสบาย เงียบสงบไม่พลุกพล่านหรือมีเสียงรบกวน
ของที่ระลึก เพื่อตอบแทนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มสนทนา ซึ่งจะแจกให้หลังเสร็จการสนทนาแล้ว
อาหารว่าง น้ำดื่มระหว่างการสนทนา รวมทั้งอุปกรณ์เสริมการพูดคุย อาทิ รูปภาพ เอกสาร หนังสือ ฯลฯ
ระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ไม่ควรเกินกว่า 2 ชั่วโมงโดยประมาณ
การดำเนินการสนทนากลุ่ม
เชิญสมาชิกเข้าห้องที่จัดเตรียมไว้ หากเป็นห้องที่ใหญ่ และสมาชิกนั่งห่างกัน อาจต้องมีระบบเสียงเข้ามาช่วยให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่นชัดเจน
ควรมีป้ายชื่อ (อาจเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติก็ได้) สำหรับสมาชิกทุกคน โดยวางป้ายชื่อไว้ด้านหน้าเพื่อให้สามารถเรียกชื่อกันได้
เริ่มต้นด้วยการแนะนำตนเองและทีมงาน โดยพิธีกรจะชี้แจงวัตถุประสงค์การสนทนา พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าจะมีการบันทึกเสียงไว้ด้วย
สร้างบรรยากาศ สร้างความคุ้นเคย และเริ่มคำถามตามลำดับที่เตรียมไว้
เปิดโอกาสให้สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยพิธีกรต้องคอยกระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงความเห็นอย่างทั่วถึง รวมทั้งคอยจำกัดเวลาสำหรับสมาชิกบางรายที่ใช้เวลามากเกินไปในการแสดงความคิดเห็นหรือคอบครอบงำความคิดผู้อื่น
เมื่อได้พูดคุยจนครบประเด็น และถึงเวลาที่ต้องยุติ (ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง) พิธีกรกล่าวยุติการสนทนา กล่าวขอบคุณ และแจกของที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบบันทึกประเด็นการสนทนา เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยจะต้องมีการกำหนดแนวคำถามเพื่อการสนทนา

แนวคำถามเพื่อการสนทนาอาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบสัมภาษณ์ กล่าวคือ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แนวคำถามเพื่อการสนทนาแบบมีโครงสร้าง แนวคำถามเพื่อการสนทนาแบบกึ่งโครงสร้าง และแนวคำถามเพื่อการสนทนาแบบไร้โครงสร้าง โดยแนวคำถามเพื่อการสนทนาจะเป็นแบบใด มักขึ้นกับผู้นำการสนทนาเป็นหลัก และด้วยการเอื้ออำนวยของเทคโนโลยีในปัจจุบัน แนวคำถามเพื่อการสนทนาที่ใช้งานในปัจจุบันก็มักไม่นิยมเว้นที่ไว้จดบันทึกผลการสนทนามากนัก หรือไม่มีเลย แต่จะใช้เครื่องบันทึกเสียงเป็นเครื่องมือในการจดบันทึกเป็นหลัก

ตัวอย่าง ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม
ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบของ กศน.ตำบล
ที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ Mobile Learning
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบโดยใช้ Mobile Learning ท่านได้วิเคราะห์ผู้เรียนอย่างไร
การวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา (เนื้อหา: ง่าย/ ปานกลาง/ยาก) โดยใช้ Mobile Learning ท่านดำเนินการอย่างไร
การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Mobile Learning ท่านดำเนินการอย่างไร
3.1 เรียนรู้ด้วยตนเอง
3.2 พบกลุ่ม
3.3 สอนเสริม / โครงงาน / อื่น ๆ
การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ท่านดำเนินการอย่างไร
การออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ (ออกแบบกิจกรรม)
การกำหนดแนวทางการวัดผลและประเมินผล ท่านดำเนินการอย่างไร
6.1 วิธีการวัดผลและประเมินผล
6.2 การสร้างเครื่องมือวัดผล (เช่น แบบทดสอบ ใบงาน ฯลฯ)
เขียน/เรียบเรียง :
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ
รสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง:
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2560). คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน.. ลำปาง : บอยการพิมพ์.

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect