ข่าวสาร

startup-594090_640

เขียนแผนธุรกิจ…อย่างมืออาชีพ

 แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเสมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการก่อตั้งกิจการ โดยแผนที่ที่ดีให้รายละเอียดถนนหนทาง และทิศทางที่ชัดเจนเช่นไร แผนธุรกิจที่ดีก็ย่อมให้รายละเอียดอย่างเพียงพอทั้งเรื่องของการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ซึ่งจะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
                                                                                                                          ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ? 

 เหตุผลสำคัญที่ต้องเขียนแผนธุรกิจ คือการยกระดับสถานะด้านการเงินสำหรับผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ หากปราศจากแผนธุรกิจที่ดีรับรองได้เลยว่าจะไม่มีธนาคาร นักลงทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดกล้าจะให้เงินคุณเพื่อนำไปใช้เริ่มต้นธุรกิจ ทั้งนี้ แผนธุรกิจไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ปล่อยกู้เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่ง การันตีได้ด้วยว่าผู้ประกอบการจะสามารถพัฒนาแนวความคิดและแผนการดำเนินการในอนาคตได้อย่างไร บ่งบอกได้ว่าทีมงานและพันธมิตรให้การยอมรับในจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกันหรือไม่ ทั้งยังเป็นตัวแทนในการสื่อสารถึงกันเกี่ยวกับการจำแนกความรับผิดชอบ กลวิธีการดำเนินการที่ทำให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายในลักษณะของการได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจกลับมาโดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 

เตรียมการสำหรับทำแผนธุรกิจ

 ก่อนที่จะเริ่มต้นลงมือในธุรกิจที่วางแผนไว้ซึ่งหมายรวมถึงการร่างแผนธุรกิจขึ้นมา จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเขียนแผนธุรกิจ โดยหนทางที่ง่ายที่สุด คือการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ ได้แก่ รายงานจากภาครัฐ ข่าวธุรกิจทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ ข้อมูลและทิศทางธุรกิจจากเว็บไซต์หรือโบรชัวร์ของบริษัทต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญสำหรับประกอบการตัดสินใจว่าธุรกิจที่ฝันไว้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก มีช่องทางในการทำธุรกิจอย่างไร แนวโน้มตลาดของสินค้าและบริการนั้นๆ เป็นอย่างไร รวมทั้งมีช่องว่างให้ผู้ประกอบการรายใหม่ก้าวไปเป็นผู้นำในตลาดได้หรือไม่ เป็นต้น 

 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูลที่มี รายละเอียดเฉพาะลึกลงไปได้จากแหล่งข้อมูลขั้นปฐมภูมิ โดยใช้กลวิธีในการรวบรวมข้อมูลดังนี้ การสำรวจทางโทรศัพท์เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด แต่ก็ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การใช้แบบสอบถามซึ่งสามารถได้รับข้อมูลคุณภาพ แต่อาจไม่กระจ่างชัดนัก เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว การโฟกัสกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อสอบถามถึงความต้องการ ปัญหา และความคาดหวังในสินค้าและบริการที่กำลังจะนำเสนอ โดยเมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้วจึงนำสิ่งที่ได้มาวิเคราะห์กับสถานการณ์จริง โดยต้องไม่ลืมเปิดใจให้กว้างสำหรับการประยุกต์และแก้ไขหากข้อมูลต่างๆ คลาดเคลื่อนไปจากแผนการที่เตรียมไว้

แผนธุรกิจที่ดี

 แผนธุรกิจที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนโครงสร้างของเหตุและผล ดังนั้นเมื่อเขียนแผนธุรกิจเสร็จเรียบร้อยจะต้องสามารถบอกรายละเอียดทุกอย่างได้ชัดเจนและเชื่อมโยงถึงกัน ขั้นตอนแรกในการสร้างแผนธุรกิจให้สำเร็จคือ วางโครงเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในแผนธุรกิจออกมาเป็นข้อๆ และจดประเด็นหลักของแต่ละหัวข้อกำกับไว้ โดยเนื้อหาในแผนธุรกิจจะต้องสอดคล้องกับธุรกิจที่กำลังจะทำและต้องไม่แสดงถึงความสิ้นหวังหรือย่อท้อในธุรกิจดังกล่าว แต่จะต้องประกอบด้วยข้อมูลทุกอย่างที่สามารถอธิบายให้เข้าใจและดึงดูดให้เกิดการพิจารณาจากผู้ที่จะสนับสนุนธุรกิจในด้านต่างๆ แผนดังกล่าวยังต้องการการเกริ่นนำและลงท้ายที่ดี ทั้งในส่วนของบทนำและการสรุปความ รวมถึงมีรายละเอียดประกอบอื่นที่จำเป็น อาทิ รายละเอียดบัญชี สำเนารายงานการวิจัยตลาด CVs หรือข้อมูลส่วนตัว (resume) ใบปลิวสินค้า รูปภาพประกอบ ฯลฯ ซึ่งอาจแนบมาพร้อมกับการนำเสนอแผนธุรกิจ 

กุญแจสำคัญในการทำแผนธุรกิจ

 Summary of Business Plan บทคัดย่อของแผนธุรกิจที่สรุปใจความสำคัญในแผนธุรกิจภายใน 1-2 หน้า ควรเขียนให้ชัดเจนและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพื่อให้เกิดความอยากรู้รายละเอียดของแผนงานธุรกิจทั้งหมดที่เหลือ อาทิ แนวคิดและขอบเขตของธุรกิจ โอกาสและความก้าวหน้าทางธุรกิจ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ ข้อมูลด้านการเงิน ทีมงานบริหาร และข้อเสนอของธุรกิจ เป็นต้น 

 Management รายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ ประสบการณ์ทางธุรกิจ ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ความสำเร็จและล้มเหลวที่ประสบมา ทั้งนี้ การมีทีมงานผู้บริหารที่ดีเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเป็นรูปร่างและประสบผลสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการและพนักงานระดับหัวหน้ารองลงมา ที่มีความรู้ความ ชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะทางที่สำคัญต่อการดำเนินงาน โดยทีมงานที่ดีควรมีผู้บริหารครบถ้วนในแต่ละด้าน สำหรับรายละเอียดทีมงานผู้บริหารควรจะระบุถึงโครงสร้างองค์กรและตำแหน่งบริหารหลัก โดยระบุผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้าน ผลตอบแทนที่ให้แก่ผู้บริหารทั้งในรูปของเงินเดือน ส่วนแบ่งกำไร และสวัสดิการจากธุรกิจ ผู้ร่วมลงทุนที่ไม่ใช่ผู้บริหารและผลตอบแทนที่ให้ ที่ปรึกษาด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 

 Product/Service ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ หากมีสินทรัพย์ทางปัญญาหรือสิทธิบัตรควรระบุไว้ด้วย โอกาสในการขยายตลาดตลอดจนการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า การประเมินศักยภาพของสินค้าและบริการในแต่ละช่วงของ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เช่น ช่วงกำลังเติบโต ช่วงอิ่มตัว เป็นต้น 

 Marketing การตลาดถือเป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจ ซึ่งมีแนวความคิดที่ใช้เป็นแผนแม่บทในการทำตลาดหลายประเภท ได้แก่ แนวคิดที่เน้นการผลิตและตัวสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ แนวคิดที่เน้นการขาย คือการพยายามผลักดันให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการให้มากที่สุด แนวคิดที่เน้นความสำคัญที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญในการทำตลาด คือการวิจัยตลาด ซึ่งจะต้องเตรียมการเป็นลำดับต้นเพื่อค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวผู้ประกอบการและบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปล่อยกู้ โดยการวิจัยตลาดจะต้องครอบคลุมข้อมูลต่างๆ ดังนี้ พฤติกรรม การซื้อและใช้ของลูกค้าเป้าหมาย ขนาดของตลาดและแนวโน้มการขยายตัวในอนาคต การแข่งขันในตลาด และการประมาณการยอดขายและส่วนแบ่งตลาด 

 หลังจากทำการวิจัยจนมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงลูกค้าเป้าหมาย ขนาดของตลาดและการแข่งขันดีแล้ว จะสามารถทำการประเมินศักยภาพทางการตลาดได้ ซึ่ง ศักยภาพทางการตลาดก็เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงานทั้งหลาย เพราะการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจต้องมีความมั่นใจในรายได้ที่จะรับเข้ามาในระดับหนึ่งที่พอเพียงให้ธุรกิจมีกำไรอยู่รอดได้ในขั้นต้น และมีกระแสเงินหมุนเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของธุรกิจมิให้หยุดสะดุดลงในขั้นต่อไป 

 Sales & Competition การทำแผนธุรกิจต้องเข้าใจถึงสภาพการแข่งขันภายในตลาดด้วย โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากจุดแข็งของธุรกิจ เช่น การมีประสบการณ์การผลิตมานาน หรือมีสินค้าที่คุณภาพดีกว่าคู่แข่ง จุดอ่อนของธุรกิจ เช่น มีเงินทุนน้อย ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสม โอกาสของธุรกิจ เช่น มีแหล่งวัตถุดิบราคาถูก มีเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายจำนวนมาก และอุปสรรคของธุรกิจ เช่น ลูกค้ามีความจงรักภักดีในแบรนด์ของคู่แข่งมากเปลี่ยนทัศนคติยาก เป็นต้น 

  ในแผนงานธุรกิจ การวางแผนงานการตลาดจะแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ 

      1.จุดขายสินค้าและบริการ ควรเลือกทำเลให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอ รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการเจาะตลาด 

      2.การตั้งราคา การกำหนดราคาที่ถูกต้องไม่เพียงแต่สามารถชดเชยต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ แต่ต้องเปรียบเทียบกับราคาของคู่แข่งขันในท้องตลาดด้วย 
      3.การส่งเสริมการขายหรือโปรโมชั่น ได้แก่ การโฆษณาตามสื่อ การจัดกิจกรรมผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งสิ่งสำคัญต้องไม่ลืมคำนวณงบประมาณอย่างเหมาะสมด้วย 

      4.การกระจายสินค้า ผ่านระบบตัวแทนจำหน่ายหรือขายตรงตามแหล่งต่างๆ 

      5.บริการหลังการขาย ผู้ประกอบการสามารถทำได้เอง หรือส่งให้โรงงานผู้ผลิตรับผิดชอบ

  Operational & Industry รายละเอียดเกี่ยวกับ ทำเลธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน การระบุแหล่งวัตถุดิบ ไปจนถึงจุดขายสินค้าและบริการ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกิจ เช่น เครื่องจักร หรือยานพาหนะในการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ในแผนธุรกิจยังต้องกล่าวถึงสภาพของอุตสาหกรรมโดยรวมที่ธุรกิจนั้น เกี่ยวข้องอยู่ อาทิ ธุรกิจบริการดาวน์โหลดคอนเทนต์บนโทรศัพท์มือถือจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยต้องคำนึงถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรมนั้น ได้แก่ คู่แข่ง แนวโน้มการเจริญเติบโต และปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่อาจส่งผลกระทบถึงการทำธุรกิจ 

  Short Term Trading การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น อาทิ เม็ดเงินลงทุน จำนวนลูกค้า การตอบรับของแบรนด์สินค้าในตลาด และผลประกอบการภายในระยะ 1 ปีแรก เป็นต้น รวมถึงความบังเอิญที่อาจขึ้นกับธุรกิจเพราะถึงแม้การทำธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จและได้ผลตอบแทนทางการเงินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ควรมองข้ามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายประการทั้งที่เป็นความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจโดยรวมตกต่ำอาจส่งผลกระทบในด้านลบแก่ธุรกิจ ฯลฯ และปัจจัยความเสี่ยงจากภายใน เช่น ปัญหาด้านบุคลากร หรือปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรระบุถึงความเสี่ยงธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นและการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือกับความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

  Financial Documents เงินเป็นปัจจัยสำคัญในทุกกิจกรรมของการทำธุรกิจ แผนการเงินที่ดีโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 1.การตั้งสมมติฐานทางการเงิน ได้แก่ ต้นทุน ยอดขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงาน สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ ค่าเสื่อม ดอกเบี้ย เป็นต้น หลังจากนั้นก็จะอยู่ในขั้นตอนของการประมาณการทางการเงินซึ่งเป็นการวิเคราะห์การใช้งบประมาณตามสมมติฐานที่วางไว้ โดยกระแสเงินสดจะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการบริหารการเงินและสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท นอกจากนี้ยังมีหลักสำคัญที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ ความสามารถในการชำระหนี้ ระยะเวลาในการคืนทุนและจุดคุ้มทุน เป็นต้น

ที่มา : http://www.jobjob.co.th

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect