ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นที่ทราบว่ามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงลูกค้าค่อนข้างเอาใจยากและมีตัวเลือกในการตัดสินใจซื้อมากขึ้นเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่ดีกว่าสมัยก่อน ธุรกิจใดอ่านใจลูกค้าออกและสามารถสนอง ต่อความ ต้องการของ ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนธุรกิจนั้นๆ ก็ย่อม ประสบ ความสำเร็จ ปัจจุบัน เป็นยุคที่ ต้อง ผลิตสินค้า หรือบริการที่่มีคนอยาก จะซื้อ ไม่ใช่ผลิตสิ่งที่บริษัทนึกว่าเป็นสินค้าหรือบริการ ที่ดีที่สุด การที่ จะรู้ใจ ลูกค้าได้นั้นเทคนิคที่สำคัญ อย่างหนึ่งของวงการ ธุรกิจ คือการวิจัยทางธุรกิจหรือการ วิจัย ตลาด RCT นั้นเป็น บริษัทวิจัยตลาด ของคนไทย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และประยุกต์ใช้ Research Method ให้ ้เหมาะสมกับ การเก็บข้อมูลหรือ การทำวิจัย เนื่องจาก มองเห็นปัญหา และอุปสรรค ของการทำวิจัยในประเทศไทย นั่นคือความ ร่วมมือของ กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยที่มักไม่ให้ ้ความสำคัญหรือ เสียสละเวลาในการ ตอบแบบ สอบถาม หรือ ให้ สัมภาษณ์ เชิงลึก อย่างเช่นประเทศอื่นๆ หรือแม้จะ สละเวลาในการตอบ แบบสอบถาม แต่อาจ ไม่ ตั้งใจใน การตอบหรือ เกรงว่าจะ กระทบ ต่อองค์กร ของตนเอง โดยเฉพาะ ดังนั้นการนำ Research Method ที่ประสบ ความสำเร็จในต่างประเทศมาใช้ ในประเทศไทยนั้น อาจ ไม่ได้ผลดี เท่าที่ควรผลการ วิจัยตลาด ใน ประเทศไทย จึงอาจมีส่วนที่เสียหาย หรือไม่ สามารถ นำไปใช้งาน ได้จริงทั้งนี้อาจเป็นเพราะจากประสบการณ์ในการทำวิจัยมากว่า 20 ปี RCT รับทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการทำวิจัยโดยเฉพาะ ในการเก็บ ข้อมูล ภาคสนาม ใน ประเทศไทย จึงได้ ทำการพัฒนา Research Method และเครื่องมือในการ เข้าถึงข้อมูล ให้เหมาะสม ในแต่ละ โครงการ ดังนั้นจึง ไม่มีีรูปแบบ ที่ตายตัวหรือมีลักษณะของ Research Method ที่คล้ายๆกันใน Product ประเภทเดียวกัน แต่ต่างกันที่งบประมาณ ซึ่งเป็นเรื่องง่าย สำหรับ บริษัท วิจัยที่จะทำเช่นนั้น ผลที่เกิดขึ้น คืองานวิจัยแม้จะ มีมูลค่า โครงการสูง แต่มัก ไม่สามารถนำไปใช้งาน ได้จริง ดังนั้น Research Method ของ RCT จึงทำการพิจารณาและประยุกต์ ใช้เป็นการเฉพาะในแต่ละ โครงการ ซึ่งย่อมแตกต่างจาก บริษัทวิจัยตลาด โดยทั่วไป เช่น Applied Mystery Research ซึ่งไม่ใช้สำหรับ ธุรกิจ ที่มีการ แข่งขัน อย่าง รุนแรง เช่น ธุรกิจรถยนต์ หรือ ธุรกิจเครื่องอุปโภค บริโภคเท่านั้น แต่สามารถ นำไป ประยุกต์ใช้กับธุรกิจแม้จะมีผู้ขายน้อยราย แต่สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้ยากมาก เป็นต้น ข้าพเจ้าหวัง เป็นอย่างยิ่ง ว่า การเปลี่ยนแปลง ของโลกในปัจจุบันนั้น ท่านหรือองค์กร ของท่านนั้นสามารถ ปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมทั้ง สามารถเจริญ เติบโต ได้อย่าง ยั่งยืน และ ARC ยินดีที่จะ เป็นส่วนหนึ่ง ในความสำเร็จของท่าน